สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

นิ้วล็อค
























ที่เห็นนี้ ไม่ใช่การเล่น เป่ายิ้งฉุบ แต่เป็นภาพ อาการ "นิ้วล็อค" ที่อาจเกิดขึ้นกับนิ้วใด กี่นิ้วพร้อมๆกันก็ได้ที่มา : ภาพเหล่านี้ยืมมาจากweb คุณหมอวิชัย วิจิตรพรกุล แห่งโรงพยาบาลเลิดสิน
ฉายา เดิมพวกเราเรียกกันเล่นๆว่า"เต็งพ้ง" ตามชื่อพระเอกในนิยายฮิตตอนนั้น ราวพ.ศ.2518-19
ท่านเคยเป็นนักกายภาพบำบัดด้วยค่ะ



นิ้วล็อค

มีใครเคยมีอาการนี้บ้างไหมคะ?

กำมือแล้ว เหยียดนิ้วไม่ออก   ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยจับนิ้วนั้นให้เหยียดออก

แต่ ขอโทษที กว่าจะให้มันเหยียดได้นี่ เล่นเอาใจแทบจะขาดเสียก่อนด้วย มันเจ็บ จริง จริง....

นิ้วล็อคเกิดได้อย่างไร?
อาการนิ้วล็อคเกิดจากการที่ เนื้อเยื่อลักษณะเป็นปลอกหุ้มเอ็นงอนิ้ว
ที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังของฝ่ามือ ตรงบริเวณฐานโคนนิ้วมือเกิดการหนาตัวและอักเสบขึ้น ทำให้ช่องที่เอ็นจะวิ่งลอดเข้าไปแคบลงหรือ บางครั้งทั้งช่องก็หนาตัวแคบลงพร้อมกับเอ็นที่วิ่งลอดก็อักเสบอวบอ้วนขึ้น ด้วย เมื่อมีการกำมือ เอ็นงอนิ้วที่มีปัญหาจึงถูกบีบรัดตัว และติดค้าง
ไม่สามารถวิ่งลอดไปได้อย่างในเวลาปกติ











































ปกติปลอกที่ว่านี้มีอยู่ที่ทุก นิ้ว
และมีสิทธิอักเสบได้เสมอหน้ากัน หากใช้มืออย่างขาดการระมัดระวัง

สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการ "นิ้วล็อค"
ก็คือการใช้มือ เปล่าทำงานต่างๆ โดยปล่อยให้มีการกระทบกระแทกซ้ำๆ
หรือใช้มือเปล่าๆ นั้นหิ้วถุง ถัง หรือหูหิ้วต่างๆ ที่หนัก
และมีการกดถ่วงลงไปบนเอ็นงอ นิ้ว หรือบนปลอกหุ้มนิ้วอยู่เป็นกิจวัตร

หรือใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องกีฬา กระหน่ำ หวดฟาดกันไม่ยั้ง
จะจับจอบ เสียม ตีมีด สับกระดูกหมู ไปชอปปิ้ง ไปตลาดข้างบ้าน

หรือ ตีกอล์ฟ ตีเทนนิส ขี่จักรยาน บิดมอเตอร์ไซค์ ฯลฯ

ก็มีสิทธิ ทุกกรณีถ้าไม่ทนุถนอมมือ

อย่างท่านที่ทำงานช่าง ต้องใช้เครื่องมือแกะแบบ ทำแม่พิมพ์ +งานช่างอื่นๆ
มีงานอดิเรกไปขี่ จักรยาน งานเขียนหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มีการใช้มือมาก
หากไม่ผ่อน คลายในระหว่างทำงานบ้างมือก็อาจจะเกิดอาการ "นิ้วล็อค" ได้ง่ายๆ

อาการของคนที่เป็นนิ้วล็อค
แรกๆ อาการอาจเพียงเจ็บขัดๆ เล็กน้อย กับอาจเหยียดได้ไม่ค่อยตรงดีดังเดิมต่อไปๆ ก็จะมีอาการมากขึ้น จนมีอาการเหยียดไม่ไป งอก็ไม่ได้ ติดแหง็ก....ฝืน ขยับก็เจ็บมาก ถึงมากที่สุดกันไปเลย
งานการก็ทำไม่ได้ เหมือนคนพิการ 


การป้องกัน
ต้องระวังการเสียดสี การกระทบกระแทก
และการปล่อยให้มีน้ำหนักมากๆ มาถ่วงรั้งตรงปลอกนิ้วและเอ็นงอนิ้ว

การใช้ถุงมือ ก็ลดการเกิดปัญหาได้

ดูตัวอย่างวิธีที่ไม่ควรทำ และควรทำ ดังนี้ค่ะ


การรักษา
1.แบบไม่ผ่าตัด เป็น ใหม่ๆ ต้องพักมือ ประคบน้ำแข็งรายที่เรื้อรังอาจใช้การรักษาด้วยเครื่อง มือทางฟิสิกส์ที่ช่วยกระบวนการผลักพาของเสียที่เกิดจากการอักเสบออกไป ทิ้งของกายภาพบำบัด เช่น
เครื่องที่ให้คลื่นเสียงความถึ่สูง(ultrasound therapy) หรืออื่นๆ ร่วมกับการทำเทคนิคบำบัดด้วยมือ และสอนวิธีปฏิบัติที่บ้าน จากนักกายภาพบำบัดส่วนมากใช้เวลารักษา1-2 สัปดาห์


2.แบบผ่าตัด ปัจจุบัน คุณหมอวิชัยได้พัฒนาเป็นเพียงการเจาะช่องเล็กๆ เข้าไปแก้ไข
ใช้เวลาทำ ประมาณ5นาทีแล้วตรวจสอบหาอาการเจ็บ ถ้าหมดไป ก็พันมือไว้ราว 1 สัปดาห์ก็เรียบร้อย


3.แบบเป็นน้อยรักษาเองในคนที่เริ่มงอเหยียดได้ไม่ เต็มที่ (ยังไม่ติดแหง็ก ร้องลั่นบ้าน)
ให้พักการใช้มือกับวัตถุที่เสียด สีมือ หรือกระแทกมือ

ใช้น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทาฝ่ามือ
แล้วนำหินกรวด หรือหินกลมๆ ขนาดลูกมะนาว มาถูนวดฝ่ามือตรงรอยที่มีปัญหาซ้ำๆ
ครั้งละ 2-3 นาที ทุก2-3 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้นได้

ที่มา : ศรีนาคา

0 ความคิดเห็น: