สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ทางระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการทันทีทันใด แต่จะใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่แรกนั้น จะสามารถลดอัตราการตายและพิการลงได้มากหรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ทางระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการทันทีทันใด แต่จะใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่แรกนั้น จะสามารถลดอัตราการตายและพิการลงได้มากหรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เมื่อมีการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง จะส่งผลทำให้สมองส่วนที่เคยได้รับเลือดมาเลี้ยงขาดเลือดไป เป็นผลให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือดโรคหลอดเลือดสมองแตก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงส่วนน้อยอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งแบ่งได้ดังนี้


1. หลอดเลือดแตก










1.1หลอดเลือดแตกในเนื้อสมอง ( พบได้ประมาณร้อยละ 20 - 30 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด )
มีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทขึ้นมาทันที เนื่องจากเลือดที่ออกจะไปกดเบียดเนื้อสมอง ทำให้สมองทำงานผิดปกติ และนอกจากนี้ยังเกิดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมักเกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีเลือดออกมาเป็นจำนวนมากหรือเลือดออกในก้านสมอง ผู้ป่วยอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว



1.2 หลอดเลือดแตกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง
สาเหตุมักเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดสมองบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ เมื่อมีเลือดออกในทันทีทันใด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน บางคนอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้ตั้งแต่ระยะแรก จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

2.โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ประมาณร้อยละ 70 - 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด












อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยจะเกิดการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขาครึ่งซีก

เกิดการสับสน พูดไม่ออกหรือไม่เข้าใจคำพูด
เกิดปัญหาการมองเห็น เกิดการงุนงงเวียนศีรษะ เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือการซึมลง
ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อลิ้นและปากผิดปกติ เดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ อาจเกิดร่วมกับอาการอ่อนแรงบางคนอาจหมดสติทันที ซึ่งการหมดสติ เกิดจากสมองเสียการทำงานไปมากโดยเฉพาะบริเวณก้านสมองหรือเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกที่รุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีดังนี้
ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น และแตกเปราะง่าย
เบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญรองจากภาวะความดันโลหิตสูง
ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงหรืออาจเป็นได้ทั้ง 2 โรค
ไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จะทำให้สมองขาดเลือดและเป็นอัมพาตในที่สุด

การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การดื่มสุราจะทำให้หลอดเลือดเปราะหรือเลือดออกง่าย และการสูบบุหรี่จะทำให้อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

ความเข้มข้นของเลือด ถ้ามีฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสเกิดโรคได้

โรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ

ยาต่างๆ เช่น สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิตสูง

อายุที่มากขึ้น จะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด

การดำเนินชีวิต บุคคลที่ดำเนินชีวิตด้วยความเครียด ไม่รู้จักผ่อนคลาย ร่างกายจะสึกหรอเร็วและเจ็บป่วยง่าย กล้ามเนื้อ ข้อต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงหลอดเลือดก็จะเสื่อมเร็วขึ้นด้วย

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง


การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดยการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยงนั้นอย่างดีหรือตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิตตรวจเลือดเป็นประจำทุกปี ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรดูแลตัวเอง รับประทานยาและปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ในปัจจุบันมีเครื่องมือและการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ทำ CT Scan หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จะช่วยในการวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้นและทำได้อย่างรวดเร็ว มักจะทำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันทุกราย การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะตรวจได้อย่างแม่นยำมากกว่าการทำ CT Scan แต่ใช้เวลานานกว่าและค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก จึงใช้ในรายที่จำเป็น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวด์ ใช้ตรวจหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมใช้ในการตรวจหาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันบริเวณนี้

การตรวจหัวใจ รวมถึงการตรวจคลื่นหัวใจและการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีโรคหัวใจเป็นสาเหตุ การตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและการตรวจภาพรังสีปอดการตรวจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือด ทำได้โดยการผ่านสายสวนเข้าไปในหลอดเลือดและฉีดสี เพื่อดูหลอดเลือด เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก ใช้เฉพาะบางกรณีที่มีความจำเป็น เช่น การตรวจหาหลอดเลือดโป่งพองในสมอง การตรวจเลือดเพื่อค้นหาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูโรคเบาหวาน การตรวจไขมันในเลือดและการตรวจนับเม็ดเลือด
 
  การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง


ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงมากเท่านั้น
1. การรักษาทางยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาและสารน้ำรักษาสมองบวม เป็นต้น

2. การผ่าตัดในรายที่อาการ ซึม หมดสติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง เป็นต้น

การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง และโรคแทรกซ้อน

3. การรักษาทางกายภาพบำบัด  เพื่อฟื้นฟูสภาพทางร่างกายผู้ป่วย ป้องกันโรคแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสกลับเป็นซ้ำภายหลังการรักษา ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยง

0 ความคิดเห็น: