สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

ขยับกาย คลายปวดข้อรูมาตอยด์ ตอนที่ 1

ไขข้อข้องใจรูมาตอยด์


โรคปวดข้อ รูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่รุนแรง และอาจทำให้พิการได้

โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า และส่วนใหญ่จะพบในช่วงอายุ 20-50 ปี


สาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรัง ของเยื่อบุข้อเกือบทุกแห่งทั่วร่างกายพร้อมกัน ร่วมกับมีการอักเสบของพังผืด เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองอย่างผิดปรกติต่อเชื้อโรค หรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจว่า เนื้อเยื่อข้อปรกติเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างกระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมขึ้น และส่งผลให้ข้ออักเสบ ซึ่งอาจจะเรียกอีกอย่างได้ว่า แพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune)


สังเกตอาการ
อาการของโรคนี้ จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อย ไป เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายกระทบกับอากาศเย็นๆ หลังจากนั้นจะปวดเมื่อยตามตัวและข้อต่างๆ แล้วจึงมีอาการอักเสบของข้อปรากฏให้เห็น โดยข้อที่เริ่มมีการอักเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเข่า ข้อศอก ต่อมาจะเป็นข้อไหล่ ส่วนข้อศอกจะปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง และข้อจะบวมแดงร้อน นิ้วมือนิ้วเท้าจะบวม ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย อาการปวดข้อจะมีลักษณะเฉพาะคือ ข้อแข็งขยับลำบาก มักจะเป็นมากในเวลาที่อากาศหนาวเย็น หรือในตอนเช้า พอสายๆ อาการจะทุเลา เข้าใจว่าความกดอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลต่อแรงดันภายในข้อที่เสื่อม โดยอาจไปบีบรัดปลายประสาทที่โผล่ออกมา อาการปวดข้อจะเป็นอยู่ทุกวันและมากขึ้นๆ เป็นแรมเดือนแรมปี โดยมีบางระยะอาจทุเลาไปได้เอง แต่จะกลับมีอาการกำเริบรุนแรงขึ้นอีก ขณะมีความเครียดหรือขณะตั้งครรภ์ ถ้าข้ออักเสบเรื้อรังอยู่หลายปี ข้อจะแข็งและพิการ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการซีด ฝ่ามือแดง มีผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง 
 รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ …

1.มี การอักเสบเรื้อรังของข้อหลาย ๆ ข้อ ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์

2.ข้ออักเสบ พบบ่อยที่บริเวณ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่าง ๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจาก การอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอ หรือ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ

3.มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ ดีขึ้น ในช่วงบ่าย ๆ มักจะขยับข้อได้เป็นปกติ

4.พบ อาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำ ๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง

5.ตรวจ เลือดพบมีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะตรวจเลือดพบเพียงร้อยละ 50-70 เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจไม่พบรูมาตอยด์ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นโรครูมาตอยด์แต่ผู้ที่มีปริมาณรูมาตอยด์แฟคเตอร์ สูงจะมีอาการรุนแรงกว่า

6.เจาะน้ำในข้อไปตรวจ

7.เอ๊กซเรย์ ไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ประเมินว่าข้อถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด เพราะอาจจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ สามารถใช้ข้อต่าง ๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ จะ มีผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความพิการ มีข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้ และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก ที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตา หัวใจ หลอดเลือด ปอด ม้าม เป็นต้น

โรคนี้ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ แต่ต้องใช้เวลานาน

ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีความอดทนในการรักษาไม่ควรเปลี่ยนแพทย์หรือเปลี่ยนยาเองเพราะ จะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากต่อตัวผู้ป่วยเองโดยเฉพาะเมื่อเกิดความพิการขึ้น แล้วก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้

สำหรับข้อที่มีการอับ เสบอยู่แล้ว การรักษาจะเป็นการควบคุมโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น ดังนั้นข้อก็อาจจะบวม ผิดรูปอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการรักษาไม่ได้ผล

โรครูมาตอยด์มีความรุนแรง แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นแพทย์ก็จะให้การรักษาแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในระยะแรกแพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนยาไปมา เพื่อหาว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นมากที่สุด

ส่วนผลการรักษา จะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เป็นโรค ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัดของข้อ และ การใช้ข้ออย่างถูกวิธี 


เขียนโดย : กภ.ฐาปนีย์  แตงไทย

0 ความคิดเห็น: