สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น( Carpal Tunnel Syndrom : CTS )

ลักษณะทั่วไป
เส้นประสาทมือ ที่ชื่อว่า เส้นประสาทมีเดียน (median nerve) เมื่อแตกแขนงเหมือนรากต้นไม้และวิ่งลงมาที่ข้อมือ จะแตกแขนงวิ่งผ่านช่องแคบเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกข้อมือ และแผ่นพังผืดเหนียว ๆ ที่อยู่ข้างใต้ของกระดูกข้อมือเราเรียกช่องแคบเล็ก ๆ นี้ว่า คาร์พัลทูนเนล (ช่องใต้กระดูกข้อมือ) ในบางครั้ง เนื้อเยื่อภายในช่องแคบนี้อาจเกิดการอักเสบและบวมจากการใช้งานมืออย่างหนักและไม่ระวัง  ทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกบีบรัดจนเกิดการบวมและอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดชาที่บริเวณปลายมือ ซึ่งเโรคนี้มีชื่อเรียกว่า โรคคาร์พัลทูนเนล  โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมากในผู้หญิงอายุ 30-60 ปี หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน

สาเหตุ
อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ ภาวะบวมในระยะก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างตั้งครรภ์ หรืออาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคปวดข้อรูมาตอยด์ , โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, เบาหวาน เป็นต้น บางคนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจพบมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้
ด้วย

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนหรือรู้สึกชาเป็นพัก ๆ ที่มือ   (โดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง    นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) บางครั้งอาจปวดร้าวขึ้นไปที่แขนหรือหัวไหล่ อาการปวดมักจะเป็นมากตอนกลางคืนหรือตอนเช้ามืด จนบางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยสะดุ้งตื่น  บางคนเมื่อได้ห้อยข้อมือ
ตรงขอบเตียง และสะบัดมือ จะรู้สึกทุเลาได้การทำงานโดยใช้ข้อมือ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่างอข้อมือมาก ๆ หรือ เร็ว ๆ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน พิมพ์ดีด) งอข้อมือเร็ว ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือชาได้ถ้าเป็นมาก อาจทำให้นิ้วหัวแม่โป้งและนิ้วอื่น ๆ ชาและอ่อนแรงได้
อาการอาจเกิดที่มือข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้   ในรายที่เป็นระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอดอาการมักจะหายไปได้เอง

สิ่งตรวจพบ
การกดหรือเคาะที่ข้อมือ (ตรงด้านเดียวกับฝ่ามือ) อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหรือชาที่ปลายนิ้วมือได้

อาการแทรกซ้อน
หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อมือฝ่อได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องวินิจฉัยด้วยการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยเครื่องไฟฟ้า
(Electromyography) การรักษา ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อย อาจให้กินยาแก้ปวด,ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ และใส่เฝือกที่มือเวลาเข้านอน บางคนอาจต้องฉีดสเตอรอยด์เข้าที่ข้อมือข้างที่ปวดถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัด (โดยตัดแผ่นพังผืดที่บีบรัดเส้นประสาท) ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาภายในเวลาไม่กี่วัน
หรือ การรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดซึ่งมีอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่ช่วยลดอาการปวดหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความร้อน ทั้งความร้อนระดับตื้น คือ การใช้แผ่นอบความร้อน หรือความร้อนระดับลึกๆ คือ การใช้อัลตราซาวด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง จะทำให้เกิดความร้อนในส่วน ของกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกๆ  หรือกระแสไฟฟ้าที่ช่วยลดอาการปวด รวมไปถึงการบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อมือ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ ตามรูปภาพ











































 เขียนโดย : กภ.ฐาปนีย์ แตงไทย

0 ความคิดเห็น: