สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลัง คือ
ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยส่วน เปลือกนอก และส่วนใส้ใน (Nucleus Pulposus) ทำหน้าที่รองรับ น้ำหนักหรือ แรงกระแทก กระดูกสันหลังส่วนเอว เป็นบริเวณที่มีการ เคลื่อนของหมอนรอง กระดูกบ่อยที่สุด ก่อให้เกิดการฉีกขาด ของเปลือก หมอนรองกระดูก และทำให้เกิดอาการปวดหลัง ถ้ามีการฉีกขาดมากขึ้น ส่วนที่เป็นเนื้อใน ก็จะทะลักออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการ ปวดขา ร่วมกับมีอาการชาที่บริเวณ น่องหรือหลังเท้า
















แสดงการฉีกขาดของหมอนรองกระดูก และเนื้อใน ทะลักออกมากดทับ เส้นประสาท


1. พัก โดยการนอนราบ หนุนหมอนเตี้ยๆ เป็นวิธีการที่ง่ายและได้ผลดีมาก เนื่องจากอาการปวดจะลดลงอย่างมาก แต่ปัญหาก็คือ ผู้ป่วยมีความจำเป็นในเรื่องการทำงาน จึงมักไม่สามารถทำตามคำแนะนำของแพทย์ได้

2. ยาแก้ปวดหรือยาลดการอักเสบ อาจให้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย การใช้ยาในกลุ่มนี้ ต้องระมัดระวังการแพ้ยา หรือผู้ป่วย อาจเกิดอาการปวดท้อง ถ้าเกิดอาการดังกล่าว จำเป็นต้องหยุดยาแล้วไปพบแพทย

3. การทำกายภาพบำบัด เช่น การดึงหลัง การใช้ความร้อนลึกด้วยเครื่องมือพิเศษ พร้อมทั้งการแนะนำให้ผู้ป่วย บริหาร กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นสวนที่สำคัญมาก เนื่องจากจะเป็นการป้องกันไม่ให้โรคกลับเป็นขึ้นมาอีก

4. การผ่าตัด

ที่มา  http://www.si.mahidol.ac.th/department/orthopedic/home/p%20deg%20disc.htm

0 ความคิดเห็น: