สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

แคลเซียม ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

เคยสงสัยหรือไม่

อะไรทำให้กระดูกของเราแข็งแรง “แคลเซียม” เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย ร้อยละ 55 จะอยู่ในกระดูกและฟัน โดยจับกันเป็นผลึกอยู่กับฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมส่วนหนึ่งอยู่ในเลือดโดยจับอยู่กับโปรตีนในเลือดและอยู่ในแคลเซียมอิสระ

หน้าที่ของแคลเซียม
โดยทั่วไป แคลเซียมนอกจากเป็นส่วนประกอบของกระดูกแล้ว ยังทำหน้าที่อื่น ๆ อีก เช่น ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อระบบประสาท ทำให้เกิดการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทั่วไป รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของโปรตีนอื่น ๆ ที่ช่วยในกระบวนการสร้างและสลายกระดูก และที่สำคัญ แคลเซียมยังช่วยควบคุมความสมดุลของกรดในร่างกายอีกด้วย เห็นประโยชน์ที่กล่าวมาแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่าแคลเซียมไม่สำคัญ แต่ปัจจุบันทราบหรือไม่ว่ามีคนจำนวนมากประสบภาวะกระดูกพรุน เป็นแล้วเกิดผลเสียอย่างไรมาดูกันครับ
โรคกระดูกพรุน คืออะไร
คือภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้เสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักหรือยุบตัวได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ พบมากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุนอาจเกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

1. ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง

2. กระดูกแขนขาเปราะและหัก บางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ทำให้พิการเดินไม่ได้

3. เกิดอาการแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น ปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อ แขนขาใช้งานไม่ได้ เป็นสาเตุของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุสาเหตุหนึ่ง

ปฏิบัติตามนี้จะช่วยป้องกันท่านจากโรคกระดูกพรุน

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะผุ้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือน ควรออกกำลังกายที่ลงน็านัก เช่น เดินไกล วิ่งเหยาะ ๆ รำมวยจีน เต้นรำ เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูก

2. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซี่ยม ที่สำคัญ ควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว

3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุรี่ ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟมากกว่า 2 แก้ว/วัน

โดยปกติ นมสด 1 แก้ว (250 ซีซี) จะมีแคลเซียมประมาณ 200 มิลลิกรัม ในวัยเด็ก ต้องการแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่สตรีวัยหมดประจำเดือนและผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 - 1,500 มิลลิกรัม แต่ในรายที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่ร่างกายต้องการ ก็อาจรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม และไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะได้รับแคลเซียมมากไป เพราะเมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมจนถึงจุดสมดุลย์ทั้งในกระดูกและเลือด แคลเซียมส่วนเกินจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระตามปกติ
หลักการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม
1. ดูตัวยาสำคัญที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ ว่ามีวิตามินอื่นผสมหรือไม่ เพราะหากผสมวิตามินซี หรือวิตามินดีมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตราย
2. ดูว่าใน 1 เม็ด ให้อนุมูลแคลเซียมเท่าไร เพราะร่างกายต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม
3. ดูว่าผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอยู่ในรูปแบบใด เนื่งจากแคลเซียมละลายน้ำจะถูกดูดซึมได้ยาก ดังนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมแบบเม็ดฟู่ เพราะจะละลายและดูดซึมได้ดีกว่าแบบธรรมดา
4. ต้องดูว่าแคลเซียมในผลิตภัณฑ์เป็นเกลือแคลเซียมอะไร เนื่องจากเกลือแคลเซียมแต่ละชนิดจะดูดซึมต่างกันในสภาวะกรดในกระเพาะต่าง ๆ กัน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต จะดูดซึมได้น้อยลงถ้าผู้ป่วยมีกรดในกระเพาะอาหารน้อย   อย่างไรก็ตาม การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และต้องไม่ลืมว่าการออกกำลังกายแต่พอเหมาะและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ท่านมีสุขภาพดีไปอีกนาน

0 ความคิดเห็น: