สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

อย.เตือนผู้บริโภค อย่าตกเป็นเหยื่อกลเม็ดขายตรงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างผู้ป่วยกินแล้วหาย โอ้อวดสรรพคุณรักษา โรคต่างๆ ได้ ฟันธง โฆษณาดังกล่าวผิดกฎหมาย หากหลงเชื่อ อาจเสียทั้งเงินและอาจนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพและเสียโอกาส ในการรักษาที่ถูกต้อง ย้ำ! ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยารักษา-โรค ขอให้ผู้บริโภคเชื่อเฉพาะสรรพคุณที่ระบุที่ฉลากเท่านั้น ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการ-อาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากผู้บริโภคบ่อยครั้งเกี่ยวกับการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ที่ใช้วิธีขายตรง โดยเปิดโรงแรมจัดประชุมสัมมนาในต่างจังหวัด พร้อมนำบุคคลที่อ้างว่าเคยป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ไตวายเฉียบพลัน มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่าหลังจากรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้นๆ แล้วอาการจะดีขึ้น ในเรื่องดังกล่าวนี้ อย. ขอแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่า เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ ทั้งนี้ อย.ไม่เคยอนุญาตหรือรับรองสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถรักษาโรคได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตจาก อย. จะเป็นการรับรองในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานว่าปลอดภัยเท่านั้น อีก ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานโดยตรงนอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ มีจุดมุ่งหมาย สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ มิใช่สำหรับผู้ป่วย การที่ผู้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางคนพึงพอใจว่าช่วยให้อาการดีขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารบางตัว เมื่อได้รับสารอาหารที่มีในผลิตภัณฑ์เสริม-อาหารนั้นก็มีอาการดีขึ้น ซึ่งการได้รับสาร อาหารจากอาหารปกติก็จะช่วยได้เช่นกัน หรืออาจเกิดจากที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับยาที่ถูกกับโรค ดังนั้นอาการที่ทุเลาลงได้อาจเกิดจากยาที่ถูกต้องมากกว่าจะเป็นเพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริม อาหารเพราะมุ่งหวังรักษาโรคโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นท่านอาจจะตกเป็นเหยื่อของการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีแชร์ลูกโซ่ ซึ่งจะเสียทั้งเงิน และอาจนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือทำให้สูญเสียโอกาสในการรักษา ที่ถูกต้อง อีกทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดมีปฏิกิริยากับยา หรือก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ เช่น มีผลต่อการแข็งตัวของหลอดเลือด เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ป่วยรับประทาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดควรต้องแจ้งข้อมูลให้แพทย์ผู้รักษาทราบด้วย

เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ก็ตาม ขอให้ผู้บริโภคอ่านข้อมูลของอาหารนั้นบนฉลากทุกครั้ง ว่ามีสรรพคุณอย่างไร และขอให้เชื่อถือเฉพาะสรรพคุณที่ระบุที่ฉลากซึ่งได้รับการอนุญาตจาก อย.แล้ว เท่านั้น หากผู้บริโภคพบเห็น การอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถรักษาโรคได้ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยเปิดโรงแรมจัด สัมมนา เชิญชวนเป็นสมาชิกแบบลูกโซ่ โปรดแจ้งเบาะแสโดยละเอียดผ่านสายด่วน อย. 1556 สำหรับในส่วนภูมิภาคแจ้งได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

ที่มา :  กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค



0 ความคิดเห็น: