สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นส่วนเอว

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นส่วนเอว โดยวิธีผ่านกล้อง (Microendoscopic Discectomy )


ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณเอวเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยมากมักเกิดในคนอายุวัยทำงาน คือ 20 ถึง 40 ปี (เป็นได้ทั้งชายและหญิง) เส้นประสาทที่จะถูกกดทับมักจะเป็นเส้น L5 (lumbar 5) หรือ S1 (sacrum 1) ผู้ป่วยมักให้ประวัติ ว่ายกของหนัก , ผลักหรือดึงในท่าก้ม เช่น เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ , ยกกระถางต้นไม้ , ยกของลงจากหลังรถ แล้วเกิดอาการปวดหลัง บริเวณเอวอย่างเฉียบพลัน พร้อมกับอาการร้าวไปขา ข้างใดข้างหนึ่งเลยเข่าลงไปถึงน่องหรือเท้า อาการปวดอาจจะรุนแรงมาก จนไม่สามารถขยับตัวเดินได้เป็นปกติ ในบางรายจะมีอาการชาและหรืออ่อนแรงของเท้าของขาข้างที่ปวด ลักษณะอาการเฉียบพลันดังกล่าวนี้ มักจะเกิดขึ้นหลังจากนอนพัก 2-3 วัน ร่วมกับการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ (NSAID) ยาบำรุงประสาท ตามสถิติแล้ว ผู้ป่วยภาวะนี้ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 4-6 อาทิตย์ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตตามปกติได ้โดยที่ต้องระวังรักษาตัวเกี่ยวกับท่าทาง การทำงาน การยกของ ประกอบกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ส่วนน้อย (ประมาณ 10 % ) ของผู้ป่วยจะมีอาการไม่ดีขึ้น ทั้งในแง่ของอาการปวด , ชา หรืออ่อนแรง ในบางรายกลับเป็นมากขึ้น ในกรณีนี้ แพทย์อาจแนะนำการรักษา โดยการทำผ่าตัด เอาหมอนรองกระดูกในส่วนใหญ่ที่กดทับเส้นประสาท (มิได้เอาหมอนรองกระดูกออกทั้งหมด) ออกด้วยวิธีการที่เรียกว่า Discectomy



การผ่าตัดนี้ได้เป็นวิธีมาตรฐานที่มีการทำกันมาช้านานหลายสิบปี ให้ผลในการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ในผู้ป่วยส่วนมากที่รักษาทางยา และกายภาพบำบัดแล้วไม่ดีขึ้น เทคนิคในการทำผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนเอวออกนี้มีหลายวิธี จากวิธีดั้งเดิม (ซึ่งก็ยังถือเป็นวิธีการ มาตรฐานอยู่ในขณะนี้) คือ การผ่าตัดแบบเปิดแผลที่กลางหลังขนาด 6-10 ซม. ขึ้นอยู่กับขนาดความอ้วน ผอม ความหนาของชั้นไขมันที่หลัง ของผู้ป่วย เมื่อเปิดแผลแล้วจึงเลาะเอากล้ามเนื้อรอบๆ กระดูกสันหลังตรงตำแหน่งที่ตรงกับหมอนรองกระดูกที่เป็นปัญหาออกจากกระดูกสันหลัง แล้วใช้เครื่องดึงถ่างถ่างกล้ามเนื้อไว้ จากนั้นก็เปิดช่องที่กระดูกสันหลังตรงตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเข้าไปในช่องไขสันหลัง เมื่อพบเส้นประสาท แล้วจึงใช้เครื่องมือดันเส้นประสาทไปตรงกลางเพื่อให้เห็นส่วนของหมอนรองกระดูกที่ยื่นหรือแตกออกมากดทับเส้นประสาท จากนั้นใช้ เครื่องมือ คีบเอาส่วนที่กดทับออก แล้วเย็บแผลปิด วิธีการผ่าตัดนี้โดยทั่วไปผู้ป่วยจะอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วันใช้เวลาฟื้นฟูสภาพ ของกล้ามเนื้อหลัง ที่ถูกผ่าตัดเลาะออกจากกระดูกประมาณ 4-6 สัปดาห์

   ที่มา  http://www.si.mahidol.ac.th/department/orthopedic/home/p%20operate%20spine.htm

0 ความคิดเห็น: