สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เลขที่ใบอนุญาต 30107000252

ที่ตั้งคลินิก

ที่ตั้งคลินิก

ปวดหลัง-ปวดขาเกี่ยวกันยังไง

ปวดหลัง-ปวดขาเกี่ยวกันยังไง


5-Nov-2009,2:27 PM

ใน ปัจจุบันอาการปวดหลังและปวดขานับเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ผู้มีอายุ ผู้ใช้แรงงานไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กนักเรียนชั้นประถมจนถึงมัธยม แต่ผู้มีอาการปวดหลังอาจมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ผู้มีอาการปวดหลังอาจมีอาการปวดที่ขา ขาอ่อนแรง หรือปวดร้าวลงขาร่วมด้วย (อาการปวดหลัง-ขาสัมพันธ์กัน***) บางคนก็ไม่ทราบว่ามันเกี่ยวกันยังไงทำไมปวดหลังและปวดขามันสัมพันธ์กันได้???

อาการ ปวดหลังร่วมกับปวดร้าวลงขาที่พบได้บ่อยมักสื่อถึงการมีความผิดปกติที่เส้น ประสาทบริเวณแนวไขสันหลังในระดับที่ลงไปเลี้ยงส่วนของขา(ถ้าโชคร้ายหน่อยก็ อาจโดนตั้งแต่ระดับใต้สะดือลงไป) จากประสบการณ์ในงานด้านกายภาพบำบัด อาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดขา ที่พบส่วนใหญ่มักมีสาเหตุหลักๆดังต่อไปนี้

1. หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ง่ายกับคนวัยทำงานเพราะลักษณะหมอนรองกระดูกจะมีความยืดหยุ่นและ เคลื่อนตัวมากดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าวัยผู้สูงอายุ โดยมักเคลื่อนตัวออกไปทางด้านหลังได้ง่ายเมื่อกล้ามเนื้อที่สร้างความมั่นคงให้หลังไม่แข็งแรงร่วมกับการมีแรงดันภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้นฉับพลัน ซึ่ง มักเกิดจากการก้มตัวยกสิ่งของด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การมีลักษณะท่าทางการทำงานในท่าก้มตัวเป็นเวลานานๆ(ทั้งนี้แล้วแต่สภาพโครง สร้างร่างกาย อาจทนอยู่ได้เป็นเดือน/ปี) แต่เมื่อรู้สึกปวดอาการนั้นมักเป็นแบบเฉียบพลัน คือเป็นมากจนทนไม่ไหวในเวลาเพียงไม่กี่วัน/สัปดาห์

2. กระดูกสันหลัง หรือ กล้ามเนื้อเบียด/ทับเส้นประสาท อาจเกิดจากแนวกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ (อาจบิดคดไปทางด้านข้าง หรือโก่ง/งอไปทางด้านหน้า-หลัง มากเกินปกติ) ซึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าจะทำให้มีอาการปวดที่เด่นชัด อาจเป็นเดือน/เป็นปี และยังไม่ได้รับความสำคัญมากนักในด้านการป้องกันรักษาตั้งแต่ช่วงอายุน้อย ๆ ทั้ง ๆที่มักพบได้ว่าผู้ปวดหลังเรื้อรังส่วนใหญ่มีภาวะกระดูกสันหลังคด ซึ่งทำให้เกิดความผิกปกติทั้งต่อรูปลักษณ์ภายนอก (เมื่อมีภาวะรุนแรง) และ อวัยวะภายใน เช่น ระบบทางเดินหายใจ และ ช่องปอด อาการปวดหลังและเส้นประสาทถูกกดทับส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนพบบ่อย มักเป็นผลมาจากการยึดติดของข้อต่อที่เกิดการบิด หรือ เอียง ไปด้านตรงข้ามของแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจมีภาวะคดระดับเดียว(ช่วงอก หรือ หลังบน-ล่าง) ลักษณะคล้ายอักษร C หรือ หลายระดับ (ทั้งช่วงอก และ ช่วงหลังส่วนล่าง) จะมีลักษณะการวางตัวของกระดูกคล้ายอักษร S

**สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง " มารู้จักภาวะกระดูกสันหลังคดกันเถอะ"

3. การเกิดมีก้อนเนื้องอกกดทับเส้นประสาท ใน กรณีนี้การใช้ยาทาถู บีบนวด มักไม่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้มากนัก การกินยาแก้ปวดช่วยได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว หากมีอาการปวดหลัง-ปวดร้าวลงขา/ไม่ลงขา นานกว่า 2 สัปดาห์โดยระดับอาการปวดไม่ลดลง หรือลดลงน้อยมาก แม้จะได้รับการรักษาโดยแพทย์หรือวิธีทางกายภาพบำบัดแล้วก็ตาม ผู้มีอาการควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

การเกิดอาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดขาจากสาเหตุข้างต้นอาจมีปัจจัยเสี่ยงทั้ง จากการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวันโดยทั่วไป การเล่นกีฬาตามปกติ/ผาดโผน อุบัติเหตุ(หกล้ม ถูกรถชน ตกจากที่สูง ฯลฯ) การอุ้มท้อง (ตั้งแต่ขนาดท้องเริ่มขยายจนทำให้มีอาการปวดเมื่อยหลัง)

**การเข้ารับบริการนวดแผนไทยบางครั้งก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ สามารถทำให้คนขี้เมื่อยกลายเป็นคนพิการได้เหมือนกัน**

(ควร พิจารณาเลือกร้าน/คลินิกให้ดี เช่น ให้ญาติมิตรแนะนำ และเลือกร้านที่มี การตรวจประเมินสภาพร่างกายและซักประวัติก่อนทำการนวด ที่สำคัญต้องมีใบอนุญาตประกอบการที่ถูกต้องตามที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติ)

ที่มา http://www.jobpub.com/

0 ความคิดเห็น: